สนธิสัญญาภาษาอังกฤษ คือ Treaty
ข้อตกลงภาษาอังกฤษ คือ Agreement
cop 24 ย่อมาจาก
conference of the paties to the united nations framework convention.
การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 24 หรือ COP 24 เริ่มขึ้นแล้ว โดยมีผู้นำจากประเทศสมาชิกเกือบ 200 ประเทศเข้าร่วมการประชุม ระหว่างวันที่ 3 - 14 ธันวาคม 2561 ณ เมืองคาโตวีตเซ สาธารณรัฐโปแลนด์ การประชุมใหญ่ระดับโลกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเวทีนี้ มีวาระสำคัญคือ การออกกฎกติกาใหม่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนตามข้อตกลงปารีส ปี 2015 (พ.ศ.2558)
ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในกรุงปารีส เห็นชอบร่างข้อตกลงลดโลกร้อนฉบับสมบูรณ์แล้ว ลดการใช้ถ่านหิน-น้ำมันดิบ-ก๊าซให้หันมาใช้พลังงานจากแสงแดดและพลังงานลมทดแทน มอบเงิน 100,000 ล้านดอลลาร์ให้ประเทศยากจนช่วยทำให้โลกเป็นสีเขียวขึ้น
ที่ประชุมบรรลุร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาปารีส” เมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม ก่อนที่ผู้แทนส่วนใหญ่จาก 196 ประเทศในที่ประชุมจะลงมติเห็นชอบในช่วงบ่าย ข้อตกลงปารีส ตั้งเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและจะจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสหากเป็นไปได้, ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) ให้ได้ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้และจะมีการทบทวนความคืบหน้าทุกๆ 5 ปี
สนธิสัญญาโตเกียว
อนุสัญญาโตเกียว (อังกฤษ: Tokyo Convention, อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว หรือ สนธิสัญญาโตกิโอ เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทอินโดจีนในปี พ.ศ. 2484 ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งประเทศไทยและฝรั่งเศสได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2484 ณ กรุงโตเกียว โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายฝรั่งเศสมี อาร์เซน อังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียวเป็นหัวหน้า ก่อนจะมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นหัวหน้าคณะลงนามจากอนุสัญญานี้ทำให้ไทยได้ ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง, จำปาศักดิ์, ศรีโสภณ, พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชา คืนมาจากฝรั่งเศส และได้นำมาแบ่งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง, จังหวัดพิบูลสงคราม, จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง
สนธิสัญญากรุงโรม
สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียมฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
สนธิสัญญาริโอ
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้นพร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา
CITES ย่อมาจาก Convention on International Trade in Endangered Species หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
ตัวอย่างของสัตว์ป่าได้แก่ แพนด้าแดง กอริลลา ชิมแปนซี เสือ สิงโตอินเดีย
ตัวอย่างของพืชป่าได้แก่ เอื้องปากนกแก้ว แก้วเจ้าจอม พะยูง