วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

โครงงานเรื่องพรมเช็ดเท้า


โครงงาน IS


                                 เรื่อง พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                                               วิชา IS

                                             จัดทำโดย

                              นางสาว ดารณี    อยู่รุ่ง  เลขที่ 29

                                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8

                                                 เสนอ

                               อาจารย์ เกรียงไกร  ทองชื่นจิตร

                                       โรงเรียน ราชินีบูรณะ


                                  กิตติกรรมประกาศ
โครงงานISที่นักเรียนศึกษาค้นคว้าและทำการประดิษฐ์ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนให้คำปรึกษาให้การอนุเคราะห์ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ปฏิบัติงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ เกรียไกร ทองชื่นจิตร ที่ให้คำปรึกษาระหว่างการดำเนินงานจนโครงงานนี้ประสบผลสำเร็จสมบูรณ์คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณท่านมา ณ โอกาสนี้



                                                                 นางสาว ดารณี   อยู่รุ่ง


                              บทคัดย่อ



โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้เรื่องพรมเช็ดเท้าจัดทําจากสิ่งที่เหลือใช้และช่วยลดปริมาณขยะที่เป็นมลพิษต่างๆเช่นเกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอีกยิ่งกว่าการนําสิ่งของที่เหลือใช้มาทําให้เกิดประโยชน์พร้อมทั้งคุณค่ามากขึ้นโดยมีความคิดริเริ่มที่จะช่วยลดปริมาณของขยะทางผู้จัดทําได้นําไม่ที่ไม่ใช้ประโยชน์มาทําให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น


บทที่1
 บทนำ

  ที่มาและความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
            จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าในชุมชนมีเศษผ้าที่เหลือจากการทำสิ้นค้า เช่น กางเกง เสื้อ ในหมู่บ้านเยอะแยะมากมาย จึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องการทำพรมเช็ดเท้าใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการผลิตพรมเช็ดเท้า ที่สวยงาม

           จึงได้รึเริ่มทอพรมเช็ดเท้า ปัจจุบันมีการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า ของใช้ที่ทุกๆครัวเรือนจะต้องมี ทุกวันนี้พรมเช็ดเท้าจะมีลวดลายและรูปแบบต่างๆ มากมายให้เราเลือกใช้ แถมที่ทำก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด อีกทั้งสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพอิสระได้อีกด้วย ถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจ ลงทุนน้อย ทำง่าย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

           ดังนั้นผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการทอพรมเช็ดเท้าเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อ ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการทำพรมเช็ดเท้า

2.เพื่อ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3.เพื่อ ศึกษาวิธีการทำพรมเช็ดเท้า

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
สร้างเว็บไซต์เผยแพรความรู้เกี่ยวกับการทำพรมเช็ดเท้า” โดยใช้ blogspot



                         บทที่ 2

                          เอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวของ

ความหมายของขยะ

 ขยะคือของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์หรือจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันขยะมูลฝอยเป็นปัญหาวิกฤตที่กําลังทวีความรุนแรงมากขึ้นจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อโดยรวมและยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในปีพ.ศ.2545มีปริมาณขยะมูลฝอยจากชุมชนทั้งประเทศประมาณ14.2 ล้านและมีการนําขยะและวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ใหม่2.7 ล้านตันคิดเป็นร้อยละ 19 ของขยะมูลฝอยชุมชน
ประเภทของขยะ ที่ทิ้งกันอยู่ทั่วไปมี4 ประเภท ได้แก่
 1.ขยะย่อยสลายได้เช่นเศษอาหารและพืชผักที่เหลือจากการรัประทานและการประกอบอาหารสามารถนําไปหมักทําปุ๋ยได้จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ 46 %
 2.ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนําไปขายได้เช่นแก้วกระดาษพลาสติกโลหะ/อโลหะซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 42 %
 3.ขยะทั่วไปเป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนําไปรีไซเคิลเช่นซองบะหมี่สําเร็จรูปเปลือกลูกอมถุงขนมถุงพลาสติกจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ประมาณ 9 %
         4.ขยะพิษหรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนําไปกําจัดอย่างถูกวิธีเช่นกระป้องยาฆ่าแมลงหลอดไฟถ่านไฟฉายซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 3 %
กระสอบ คือ ภาชนะที่สานจากต้นกระจูด ซึ่งเป็นพืชตระกูลกก สูงราว ๑ - ๒ เมตร ลำต้นกลม นำมาตากแดดให้แห้งและทุบให้แบบก่อนนำไปใช้สานเป็นกระสอบ ซึ่งมี ๒ อย่างได้แก่ “กระสอบนั่ง” กับ “กระสอบนอน” (ภาษาถิ่นว่า “สอบนั่ง –สอบนอน”) ซึ่งต่างกันโดยวิธีสานทำก้นกระสอบ คือ ถ้าสานเป็นวงกลมธรรมดา ส่วนก้นใช้วิธีสานสอดให้บรรจบกันแล้วเม้มริมหรือผูกให้ติดกัน มี ๒ มุม คล้ายกระสอบป่านทั่วไปเรียก “กระสอบนอน” ซึ่งถ้าไม่บรรจุสิ่งของอะไรจะวางตั้งขึ้นไม่ได้ นิยมใช้ใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือบรรจุสิ่งของจำนวนมากมีน้ำหนัก ส่วน“กระสอบนั่ง” จะทำก้นกระสอบให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมี ๔ มุม (เหมือนสมุก) ทำให้กระสอบมีลักษณะกลมมีก้นสามารถตั้งได้โดยไม่มีอะไรบรรจุ ซึ่งกระสอบนั่งนิยมใส่ข้าวสาร รำข้าว ถั่ว พริก เกลือ ฯลฯ ในครัวเรือนแทนภาชนะประเภทดินเผา จักสาน หรือโลหะอื่นได้ดี
ผ้า คือ วัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นที่ผลิตจากเส้นใย, เส้นด้าย หรือวัสดุพื้นฐานรวมกัน
ประเภทของผ้าแบ่งตามวิธีการผลิต
1) ผ้าทอ (Woven fabric)

2) ผ้าถัก (Knitted fabric)

ประเภทของผ้า
แบ่งตามชนิดของเส้นใ


1) เส้นใยธรรมชาติ (Natural fiber)

2) เส้นใยสังเคราะห์จากสารเคมี (Chemical Synthetic fiber)

3) เส้นใยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ (Natural Synthetic fiber)

1) เส้นใยธรรมชาติ (Natural fiber)
- ฝ้าย (Cotton)

- ลินิน (Linen)

- ไหม (Silk)

- ขนสัตว์ (Wool)

2) เส้นใยสังเคราะห์จากสารเคมี (Chemical Synthetic fiber)
- ไนลอน (Nylon)

- โพลีเอสเตอร์ (Polyester)

- สแปนเด็กซ์ (Spandex)

3) เส้นใยสังเคราะห์แบบวัสดุธรรมชาติ (Natural Synthetic fiber)
- เรยอน (Rayon)






                               บทที่3
วิธีดำเนินการ

3.1 วัสดุอุปกรณ์

1. กระสอบป่าน

2. เศษผ้าตามชนิดที่ต้องการ

3. กรรไกร

4. กิ๊บปักผม

3.2 วิธีดำเนินการ

1. นำกระสอบป่านมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 15*10 นิ้ว หรือตามรูปแบบที่ต้องการ

2. ตัดเศษผ้าให้ได้ความยาวตามต้องการประมาณ 5*1 นิ้ว

3. นำผ้าที่ตัดไว้สอดเข้าไปในกิ๊บปักผม

4. สอดเข้าไปตรงที่เป็นรูของกระสอบแล้วดึงเศษผ้าออกจากกิ๊บปักผม

5. ทำแบบเดิมจนเต็มกระสอบ

ระยะเวลาในการทำงาน


1 สัปดาห์ ตั้งแต่ วันที่ 17 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.25ุ61



                                        บทที่ 4
                    ผลการศึกษาทดลอง

     ได้พรมเช็ดเท้าที่มีความสวยงาม และมีคุณภาพตามที่ต้องการ และใช้ประโยชน์ได้จริง






                              บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ



5.1 สรุปผลการศึกษา

 งาน ประดิษฐ์เล็ก ๆ น้อย ๆ จากเศษผ้า เป็นการนำเศษผ้าที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นใหม่ ซึ่งเราสามารถทำได้ด้วยตนเอง เมื่อทำสำเร็จแล้วเราจะเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีพรมเช็ดเท้าไว้ใช้งานโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ ซึ่งตรงกับเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวเอาไว้

5.2 อภิปรายผล

 จากการทำพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าเหลือใช้ปรากฏว่าได้พรมเช็ดเท้าที่ใช้งานได้จริง

ประโยชน์และคุณค่าของสิ่งประดิษฐ์
1.ช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง
2.นําสิ่งประดิษฐ์มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่เราใช้ประโยชน์ได้
3.เพื่อนําวัสดุที่ใช้แล้วนํากลับมาใช้ใหม่
4.ใช้เศษวัสดุที่เหลือใช้อย่างคุ้มค่า
5.ชิ้นงานพรมเช็ดเท้าสามารถนําไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้

5.3 ข้อเสนอแนะ
1. สามารถทำลวดลายต่าง ๆ ได้อีกตามความต้องการ



                       บรรณานุกรม


 https://www.im2market.com/2015/12/15/2189By pump lee - December 15, 2015 
 http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2551/ms201/c_camp51/300.html โครงการคัดแยกขยะ 
iswannida.blogspot.com/












วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

ชุดประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น

ชุดประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น



กิโมโน (着物) เป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนราวราชวงศ์ถัง ซึ่งถ้าจะนับไปแล้วมีมากกว่าพันปี เรียกได้ว่าเกิดพร้อมๆ กับการก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ โดยเริ่มจากยุคนาระ (ค.ศ. 710 - 754) ที่รูปทรงของเสื้อผ้าจะคล้ายคลึงกับชุดในราชสำนักของชาวจีน จนต่อมาในสมัยเฮฮัน (ค.ศ. 974 - 1191) ซึ่งถือเป็นยุคที่กิโมโนรุ่งเรื่อง เริ่มมีการดัดแปลงให้มีกิโมโนหลากหลายแบบมากขึ้น และเริ่มมีเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมากขึ้นด้วย มีการแบ่งแยกชัดเจนในเรื่องของสีสันและรูปแบบตามสถานะทางสังคม จนต่อมาในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1858) กิโมโนได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกครั้ง เริ่มมีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น โดยเฉพาะผ้าคาดเอวที่เรียกว่า "โอบิ" นั้นมีการดัดแปลงและเพิ่มวิธีการผูกแบบใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากมาย ทำให้การสวมใส่กิโมโนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย กลายเป็นชุดประจำชาติที่สง่างาม จนมาในช่วง 100 ปีให้หลังนี้ ที่วัฒนธรรมต่างชาติเข้าสู่ญี่ปุ่นมากขึ้น ชุดประจำชาติอย่างกิโมโนจึงถูกลดบทบาทลง กลายเป็นชุดที่ใช้ในงานเทศกาล พิธีการสำคัญๆ หรืองานแสดงแบบโบราณเท่านั้น

การตัดเย็บ

ชุดกิโมโน อาจจะตัดเย็บแบบเดินลายเส้นของผ้าหรือไม่ก็ได้ หรือเย็บตะเข็บด้วยผ้าฝ้ายก็ได้ หากไม่เดินลายเส้น นิยมสวมใส่ในช่วงเดือน มิ.ย. ถึง ก.ย. แต่ทุกวันนี้ การสวมชุดยาคาตะเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ส่วนการออกไปนอกบ้าน นิยมสวมชุดกิโมโนตัดเย็บจากผ้าไหมและผ้าฝ้าย ในขณะที่ชุดกิโมโนเดินลายเส้นของผ้า จะสวมใส่กันในช่วงเดือน ต.ค. ถึงเดือนพ.ค. แต่จะเย็บด้วยผ้าไหม หรือผ้าสำลี
สำหรับชุดกิโมโนที่เป็นพิธีการสำหรับผู้ชายจะเป็น ผ้าไหมสีดำ มีตราประจำตระกูลเป็นสีขาว ส่วนของผู้หญิงก็จะแตกต่างกันไป เช่น เป็นชุดผ้าไหมสีขาวหรือแดง ประดับด้วยไหมยกสีทองหรือสีเงิน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะนิยมผ้าไหมสีเข้ม การออกแบบไม่ฉูดฉาด เช่น ชุดสำหรับไปร่วมงานศพ ก็จะเป็นสีดำเข้มไปเลย
ส่วนใหญ่การสวมชุดกิโมโนจะต้องสวมถุงเท้า (tabi) มีเสื้อชั้นในส่วนบน และผ้าพันรอบใต้กระโปรง จากนั้นจึงสวมกิโมโนทับ ซึ่งจะมีผ้ารัดเอว (datemaki) ไว้อย่างหนาแน่น ปกเสื้อนิยมสีขาว และจะต้องให้เห็นปกเสื้อประมาณ 1นิ้วเมื่อสวมกิโมโนทับ สาบเสื้อใช้ซ้ายทับขวา ทั้งหมดนี้คือวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอาทิตย์อุทัยที่สืบทอดกันมานับพันปี


ส่วนประกอบของชุดกิโมโน

1. อันดับแรกก็คือ Nagajuban ชุดชั้นในจะมีสีอ่อน มักเป็นสีขาว ผ้าจะบาง

2. ผ้าเส้นเล็กยาวๆ เรียกว่า Koshihimo ซึ่งใช้ผูกชุดชั้นใน




3. Kimono หรือ Yukata พอสวมแล้วก็จะผูกด้วย Datejime สำหรับกิโมโน Koshihimo สำหรับยูกาตะ แต่ปัจจุบันมี Datejime สำเร็จรูปที่ไม่ต้องผูกเองให้เสียเวลาใช้แถบเทปติด





4. Obi ผ้าผืนยาวที่ผูกรอบเอว ซึ่งสามารถเลือกผูกได้หลากหลายแบบ ความยากของการใส่กิโมโนนั้นก็อยู่ที่การผูกโอบิเป็นหลัก
โอบิของผู้ชายจะมีขนาดแคบกว่าของผู้หญิงและมักผูกแบบเรียบๆ ปัจจุบันมีโอบิสำเร็จรูปขายสำหรับใส่กับยูกาตะเพื่อความสะดวก ผู้ใส่ไม่ต้องผูกเอง



ตัวอย่างการผูกโอบิแบบต่างๆ



โอบิสำเร็จรูป



โอบิของผู้ชาย


5. Obijime เป็นเชือกเส้นเล็กๆ ที่ผูกทับโอบิทำให้ดูน่ารัก ผู้ชายไม่นิยมใช้





6. Tabi ถุงเท้าทรงพิเศษ








7. Geta รองเท้าเกี๊ยะ





8. ปิ่นปักผม


                                        


นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยเสริมเพื่อให้สามารถจะใส่กิโมโน หรือยูกาตะได้สะดวกขึ้น ได้แก่ Obiita เป็นแผ่นพลาสติกยืดหยุ่นที่คาดไว้ที่เอวหลังผูก Datejime ก่อนผูกโอบิ เพื่อให้โอบิอยู่ตัวไม่เลื่อนหลุด แต่ยูกาตะไม่จำเป็นต้องใช้


                                                     

หรือในการผูกโอบิกับกิโมโนบางแบบที่มีความซับซ้อนจำเป็นจะต้องใช้ obimakura คล้ายหมอนอันเล็กๆ ที่มีเชือกไว้สำหรับผูกเพื่อนพยุงทรงของโอบิ


                          


Obiage มีลักษณะเป็นผ้าผืนยาวๆ จะผูกหลังจาก Obimakura และจะผูกเก็บชายยัดไว้ด้านหน้า เพื่อช่วยให้โอบิที่ผูกออกมาดูสวยขึ้น ซึ่งอาจจะเลือกสีให้เข้ากันกับเชือก Obijime