ชุดประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น
กิโมโน (着物) เป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนราวราชวงศ์ถัง ซึ่งถ้าจะนับไปแล้วมีมากกว่าพันปี เรียกได้ว่าเกิดพร้อมๆ กับการก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ โดยเริ่มจากยุคนาระ (ค.ศ. 710 - 754) ที่รูปทรงของเสื้อผ้าจะคล้ายคลึงกับชุดในราชสำนักของชาวจีน จนต่อมาในสมัยเฮฮัน (ค.ศ. 974 - 1191) ซึ่งถือเป็นยุคที่กิโมโนรุ่งเรื่อง เริ่มมีการดัดแปลงให้มีกิโมโนหลากหลายแบบมากขึ้น และเริ่มมีเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมากขึ้นด้วย มีการแบ่งแยกชัดเจนในเรื่องของสีสันและรูปแบบตามสถานะทางสังคม จนต่อมาในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1858) กิโมโนได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกครั้ง เริ่มมีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น โดยเฉพาะผ้าคาดเอวที่เรียกว่า "โอบิ" นั้นมีการดัดแปลงและเพิ่มวิธีการผูกแบบใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากมาย ทำให้การสวมใส่กิโมโนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย กลายเป็นชุดประจำชาติที่สง่างาม จนมาในช่วง 100 ปีให้หลังนี้ ที่วัฒนธรรมต่างชาติเข้าสู่ญี่ปุ่นมากขึ้น ชุดประจำชาติอย่างกิโมโนจึงถูกลดบทบาทลง กลายเป็นชุดที่ใช้ในงานเทศกาล พิธีการสำคัญๆ หรืองานแสดงแบบโบราณเท่านั้น
การตัดเย็บ
ชุดกิโมโน อาจจะตัดเย็บแบบเดินลายเส้นของผ้าหรือไม่ก็ได้ หรือเย็บตะเข็บด้วยผ้าฝ้ายก็ได้ หากไม่เดินลายเส้น นิยมสวมใส่ในช่วงเดือน มิ.ย. ถึง ก.ย. แต่ทุกวันนี้ การสวมชุดยาคาตะเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ส่วนการออกไปนอกบ้าน นิยมสวมชุดกิโมโนตัดเย็บจากผ้าไหมและผ้าฝ้าย ในขณะที่ชุดกิโมโนเดินลายเส้นของผ้า จะสวมใส่กันในช่วงเดือน ต.ค. ถึงเดือนพ.ค. แต่จะเย็บด้วยผ้าไหม หรือผ้าสำลี
สำหรับชุดกิโมโนที่เป็นพิธีการสำหรับผู้ชายจะเป็น ผ้าไหมสีดำ มีตราประจำตระกูลเป็นสีขาว ส่วนของผู้หญิงก็จะแตกต่างกันไป เช่น เป็นชุดผ้าไหมสีขาวหรือแดง ประดับด้วยไหมยกสีทองหรือสีเงิน ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะนิยมผ้าไหมสีเข้ม การออกแบบไม่ฉูดฉาด เช่น ชุดสำหรับไปร่วมงานศพ ก็จะเป็นสีดำเข้มไปเลย
ส่วนใหญ่การสวมชุดกิโมโนจะต้องสวมถุงเท้า (tabi) มีเสื้อชั้นในส่วนบน และผ้าพันรอบใต้กระโปรง จากนั้นจึงสวมกิโมโนทับ ซึ่งจะมีผ้ารัดเอว (datemaki) ไว้อย่างหนาแน่น ปกเสื้อนิยมสีขาว และจะต้องให้เห็นปกเสื้อประมาณ 1นิ้วเมื่อสวมกิโมโนทับ สาบเสื้อใช้ซ้ายทับขวา ทั้งหมดนี้คือวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอาทิตย์อุทัยที่สืบทอดกันมานับพันปี
ส่วนประกอบของชุดกิโมโน
1. อันดับแรกก็คือ Nagajuban ชุดชั้นในจะมีสีอ่อน มักเป็นสีขาว ผ้าจะบาง
2. ผ้าเส้นเล็กยาวๆ เรียกว่า Koshihimo ซึ่งใช้ผูกชุดชั้นใน
3. Kimono หรือ Yukata พอสวมแล้วก็จะผูกด้วย Datejime สำหรับกิโมโน Koshihimo สำหรับยูกาตะ แต่ปัจจุบันมี Datejime สำเร็จรูปที่ไม่ต้องผูกเองให้เสียเวลาใช้แถบเทปติด
4. Obi ผ้าผืนยาวที่ผูกรอบเอว ซึ่งสามารถเลือกผูกได้หลากหลายแบบ ความยากของการใส่กิโมโนนั้นก็อยู่ที่การผูกโอบิเป็นหลัก
โอบิของผู้ชายจะมีขนาดแคบกว่าของผู้หญิงและมักผูกแบบเรียบๆ ปัจจุบันมีโอบิสำเร็จรูปขายสำหรับใส่กับยูกาตะเพื่อความสะดวก ผู้ใส่ไม่ต้องผูกเอง
ตัวอย่างการผูกโอบิแบบต่างๆ
โอบิสำเร็จรูป
โอบิของผู้ชาย
5. Obijime เป็นเชือกเส้นเล็กๆ ที่ผูกทับโอบิทำให้ดูน่ารัก ผู้ชายไม่นิยมใช้
6. Tabi ถุงเท้าทรงพิเศษ
7. Geta รองเท้าเกี๊ยะ
8. ปิ่นปักผม
นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยเสริมเพื่อให้สามารถจะใส่กิโมโน หรือยูกาตะได้สะดวกขึ้น ได้แก่ Obiita เป็นแผ่นพลาสติกยืดหยุ่นที่คาดไว้ที่เอวหลังผูก Datejime ก่อนผูกโอบิ เพื่อให้โอบิอยู่ตัวไม่เลื่อนหลุด แต่ยูกาตะไม่จำเป็นต้องใช้
หรือในการผูกโอบิกับกิโมโนบางแบบที่มีความซับซ้อนจำเป็นจะต้องใช้ obimakura คล้ายหมอนอันเล็กๆ ที่มีเชือกไว้สำหรับผูกเพื่อนพยุงทรงของโอบิ
Obiage มีลักษณะเป็นผ้าผืนยาวๆ จะผูกหลังจาก Obimakura และจะผูกเก็บชายยัดไว้ด้านหน้า เพื่อช่วยให้โอบิที่ผูกออกมาดูสวยขึ้น ซึ่งอาจจะเลือกสีให้เข้ากันกับเชือก Obijime
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น